วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทำบุญวันเกิด ไหว้พระ9วัดอย่างไรไม่ให้เหนื่อย


ทำบุญวันเกิด

ไหว้พระ 9 วัด อย่างไรไม่ให้เหนื่อย





เกิดเป็นพุทธศาสนิกชนถ้าได้ตระเวนไหว้พระจนครบ 9 วัด ถือเป็นบุญผลาอานิสงส์ แล้วถ้าได้ไปกับคนที่เรารักก็ยิ่งพิเศษสุด เรื่องดีๆ แบบนี้ “เอไอเอส เซเรเนด”
“อิ่มบุญ อุ่นรัก” พาคู่แม่ลูก 18 คู่ ไปทำบุญไหว้พระเสริมสิริมงคล 9 วัดที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ประกอบด้วย 1.วัดพนัญเชิงวรวิหาร 2.วัดใหญ่ชัยมงคล 3.วิหารพระมงคลบพิตร 4.วัดหน้าพระเมรุราชิการาม 5.พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา 6. 7.วัดมเหยงค์ 8.วัดไชยวัฒนาราม และ 9.วัดสุวรรณดารามราชวรวิหาร
ไปไหว้พระอยุธยาคราวนี้ “อ.แพน” เผ่าทอง ทองเจือ เป็นไกด์นำเที่ยวให้ความรู้ตลอดทริป ได้ความรู้คู่การท่องเที่ยวแบบนี้ แม่ลูกเซเรเนดคู่ไหนๆ ก็ไม่มีทีท่าว่าจะท้อถอยถึงแม้ว่าอยุธยาช่วงสิบโมงเช้าแดดจะเริ่มแข็งแล้ว
เมื่อคิดถึงกรุงเก่าภาพเจดีย์สูงใหญ่ล่องลอยมาแต่ไกล จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน)1 กิโลเมตร “วัดใหญ่ชัยมงคล” อยู่ทางซ้ายมือ “อ.แพน” ไกด์กิตติมศักดิ์เล่าให้ฟังว่า ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ ‘วัดป่าแก้ว’ พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีสร้างไว้ตั้งแต่อยุธยาตอนต้น ส่วน “เจดีย์ชัยมงคล” องค์นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2135 ถือว่าสูงใหญ่ที่สุดในอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้สร้างพระเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
แต่คนไทยเราเมื่อมากับผู้รู้ ‘สุริโยไท’ ภาพยนตร์แห่งสยามประเทศ ดาราชื่อดัง ศรัณยู วงษ์กระจ่าง แสดงเป็นพระเฑียรราชาซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น ‘พระมหาจักรพรรดิ’ ส่วน สรพงษ์ ชาตรี สวมบทหมื่นราชเสน่หา แล้วความที่เป็นวัดป่าของพระฝ่ายอรัญวาสีที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง นักโบราณคดีจึงเชื่อกันว่าวัดนี้แหละที่พระเฑียรฯ มารวมพลคิดการลับโค่นล้มราชบัลลังก์ของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
มาถึงอยุธยาก็ต้องไปไหว้ หลวงพ่อมงคลบพิตรมีพระพักตร์เหลี่ยม พระขนงโค้งอ่อนหวาน เป็นพุทธลักษณะศิลปะอยุธยาตอนต้น แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ซึ่งนักประวัติศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า พระไชยราชา รัชกาลที่ ขอแนะนำให้มองหาไกด์บุ๊คเล่มเล็กที่วางขายอยู่ในตู้หนังสือของแต่ละวัด อย่างเช่น เพราะเล่มนี้พิมพ์พ.ศ. วัดต่อไป “วัดหน้าพระเมรุ” ไหว้พระพุทธรูปทรงเครื่องงดงามที่สุดในอยุธยา ‘พระพุทธนิมิตพิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลก’ อ.เผ่าทองเล่าไปถึง พ.ศ. 2092 เกิดสงครามช้างเผือกโดยบุเรงนองยกทัพมาในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ อ้างขอช้างเผือก 1 เชือก ไปไว้ที่หงสาวดี แต่โดยธรรมเนียมนั้นช้างเผือกเป็นของคู่บุญกษัตริย์ ใช่ว่าจะให้กันได้ บุเรงนองจึงยกทัพมาล้อมกรุงศรี และใช้วัดนี้เป็นฐานที่ตั้งค่ายรบพม่า …ขุนทัพนายกองพม่าคงนอนระเกะระกะในอุโบสถวัดนี้

อ.เผ่าทองว่า คือเป้าหมายต่อไปที่จะต้องเล่าคู่กัน ไหว้เศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ซึ่งพบที่วัดธรรมิกราชแล้ว เดินไปทางซ้ายอีกสักนิดก็ยิ่งอิ่มเอมกับกลุ่มพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ในพระอุระซ้ายของพระมงคลบพิตร ซึ่งพบเมื่อปี 2499
“คติของการสร้างพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแต่โบราณเราจะใส่พระพุทธรูปเข้าไปในองค์พระ ซึ่งเป็นการบรรจุความศักดิ์สิทธิ์สร้างให้ท่านมีชีวิต! พระอุระ และสะดือที่ถือว่าเป็นศูนย์กลาง เราได้พระชุดนี้มาเพราะปูนองค์พระมงคลบพิตรกะเทาะ แล้วถึงรู้ว่าองค์พระมีพระพุทธรูปล้ำค่าอีกมากมายแต่เราก็ไม่สกัดอีกแล้ว”
เมื่อโจร (ไทย) เข้าไปขุดกรุเจดีย์ ก็ปรากฏให้คนทั้งโลกตื่นตะลึง! โจรได้หลอมเป็นก้อนเพื่อขายได้ง่ายขึ้น!! เจดีย์ทุกองค์ในอยุธยามีเครื่องทอง สันนิษฐานว่าชาวบ้านได้ฝึกลิงให้ลงไปเก็บทอง! คนไม่สามารถลอดลงไปได้ แล้วเมื่ออิฐถล่มลงมาก็ทับลิงตายเป็นซากอยู่ในกรุนั้น!!
“วัดพนัญเชิง” ไหว้พระพุทธไตรรัตนนายก (ซำปอกง) คือจุดหมายต่อไป วัดนี้สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893) แสดงถึงความเป็นอาณาจักรที่มั่งคั่งจึงสามารถสร้างวัดใหญ่โตขนาดนี้ได้ แล้วเมื่อตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น หลวงพ่อโตซำปอกงมีน้ำตาไหลอาบใบหน้า พระพุทธรูปองค์นี้จึงถือเป็นพระเสี่ยงทายสำคัญ

ตบท้ายของวันแรกที่ “วัดมเหยงค์” ปัจจุบันเป็นวัดร้างใน ต.หันตรา โบราณสถานที่ยังเหลือปรากฏอยู่ คือ พระอุโบสถที่ใหญ่โตกว่าวัดอื่นๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ช้างล้อมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสยาวด้านละ 32 เมตร มีช้างเห็นได้ทั้งตัว ประดับโดยรอบองค์พระเจดีย์เป็นแบบลังกา เหมือนพระเจดีย์ช้างล้อมที่จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดน่าเที่ยวอีกวัดหนึ่ง
วันรุ่งขึ้นไปไหว้พระต่อกันที่ “วัดไชยวัฒนาราม” วัดนี้จำลองแบบมาจากปราสาทนครวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในสงครามที่อยุธยามีต่อเขมร จากการนำทัพของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ประวัติศาสตร์ยุคนี้จากคำบอกเล่า อ.เผ่าทอง ต้องบอกว่าเข้มข้นถึงใจ (แบบโหดๆ) จากมหาดเล็กในราชสำนักยุคสมเด็จพระเอกาทศรถ ก้าวขึ้นมากินตำแหน่งเจ้าพระยากลาโหมฯ ได้นั้นต้องนับว่าไม่ธรรมดา และแผ่นดินนี้กษัตริย์ถึงสองพระองค์
‘สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง’ ผู้สร้างวัดนี้ไว้เมื่อ พ.ศ. 2137 และวัดสุดท้าย “วัดสุวรรณดารามราชวรวิหาร” เดิมชื่อว่า ‘วัดทอง’ อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร์ เป็นวัดที่พระบรมมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ให้สถาปนาวัดทองขึ้นใหม่และพระราชนามว่า “วัดสุวรรณดาราราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์คือ ‘ทองดี’ และ ‘ดาวเรือง’

พิธีทำบุญวันเกิด







พิธีทำบุญวันเกิด และพิธีทำบุญอายุนั้น จัดขึ้นเพื่อความต้องการความสุขสวัสดีมีอายุยืนยาวเจริญวัฒนาต่อไปในภายภาคหน้า ส่วนใหญ่หากเป็นการทำบุญวันครบรอบวันเกิด โดยทั่วไปก็ไม่ค่อยจัดใหญ่โตอะไรนัก แค่ทำบุญตักบาตรพระในตอนเช้า หรือถวายภัตตาหารพระที่วัด เสร็จแล้วจึงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมตามศรัทธา เมื่อพระสวดเจริญพระพุทธมนต์ให้พร อนุโมทนา และ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นอันเสร็จพิธี
ทำบุญวันเกิด
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์ ๒ คนผัวเมีย พาลูกน้อยของตนไปหาพราหมณ์ที่เป็นสหายซึ่งถือพรตบำเพ็ญตบะ เมื่อพราหมณ์ ๒ ผัวเมียทำความเคารพ พราหมณ์ที่บำเพ็ญตบะได้กล่าวอำนวยพรว่า ” ขอจงจำเริญอายุยืนนาน” แต่เมื่อให้บุตรของตนทำความเคารพ พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะหาได้กล่าวอวยพรให้ตามธรรมเนียมไม่ โดยบอกเหตุผลบอกว่า ลูกน้อยของพราหมณ์ ๒ ผัวเมียจะต้องตายภายใน ๗ วัน
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญตบะ ได้แนะนำให้พราหมณ์ ๒ ผัวเมียพาลูกไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสแถลงเช่นเดียวกัน และแนะนำอุบายป้องกัน โดยการนิมนต์พระสงฆ์สวดพระปริตรตลอด ๗ วัน ซึ่งพราหมณ์ทั้งสองก็กระทำตามครั้นถึงวันที่ ๗ พระพุทธองค์เสด็จไปด้วยพระองค์เอง ทำให้ยักษ์ผู้ได้รับพรมาเพื่อฆ่ากุมารไม่อาจทำอันตรายพระกุมารนั้นนอนฟังพระปริตรอยู่ ด้วยพุทธานุภาพประกอบกับอายุไม่ถึงการดับแห่งขาร ทำให้ทารกนั้นรอดพ้นอันตราย และมีอายุยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี
ประเพณีทำบุญวันเกิด เกิดขึ้นเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการมีอายุยืนมาบรรจบรอบปีครั้งหนึ่งๆ ไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันประเสริฐ ควรยินดี เมื่อรู้สึกยินดีก็ควรจะบำเพ็ญกุศล ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท เพราะไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่งชั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกเช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิตเสียได้ นี้เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการทำบุญวันเกิดขึ้นเรียกว่าเฉลิมพระชนมพรรษา การที่ทรงทำในครั้งนั้นปรากฏว่ามีการสวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เป็นการน้อยๆ เงียบๆ ครั้นต่อมาก็มีเจ้านายขุนนางทำบุญวันเกิดกันชุกชุมขึ้น แต่การทำบุญเกี่ยวกับพระลดลง เป็นแค่ประชุมคนแสดงเกียรติยศให้ปรากฏว่ามีผู้นับถึอมาก ตั้งโรงครัวเลี้ยงกันไปวันยังค่ำการมหรสพก็มีละครเป็นพื้น และนำของขวัญไปให้กันมีการเลี้ยงดูกันอย่างสนุกสนานให้ศีลให้พรกัน ถ้าเป็นวันเกิดเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่พระเจ้าแผ่นดินก้พระราชทานพระราชหัตถเลขาให้พรด้วย พระราชทานของขวัญด้วย สมัยนั้นการทำบุญถือเป็นเกียรติใหญ่ เมื่อถึงวันเกิดของใครก็อึงคนึงเป็นการใหญ่ตั้งแต่เริ่มงานจนงานแล้ว และถือว่าถ้าไม่ไปช่วยงานวันเกิดกันแล้วเป็นไม่ดูผีกันทีเดียว
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรก็ทรงทำบุญวันพระราชสมภพ ตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิธีทำก็มี สวดมนต์ เลี้ยงพระและแจกสลากสิ่งของต่างๆ แก่พระสงฆ์ ทรงทำตลอดมาจนกระทั่งเสวยราชย์และทำเป็นการใหญ่เช่น หล่อพระพุทธรูปอายุ เรียกว่า “หล่อพระชนมพรรษา” ทั้งมีการตกแต่งตามชาลาพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นการครึกครื้นสนุกสนาน ตามริมน้ำและตามถนนก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีปโคมชวาลา จึงได้เกิดมีการแต่งซุ้มไฟประกวดประขันกันขึ้นและมีเหรียญพระราชทานแก่ผู้แต่งซุ้มไฟเป็นรางวัล อนึ่งในวันนั้นได้มีผู้ไปลงนามถวายพระพร พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอ่านคำถวายพระพรอันเป็นเครื่องหมายแสดงความจงรักภักดี จึงถือเป็นประเพณีเนื่องด้วยทำบุญวันเกิดมาจนปัจจุบันนี้


วิธีปฏิบัติ ในการทำบุญวันเกิดอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ดังนี้
๑. ตักบาตรพระสงฆ์เท่าอายุหรือเกินอายุหรือกี่รูปก็ได้ตามสะดวก
๒. บำเพ็ญกุศลอุทิศแก่บรรพบุรุษ ที่เรียกว่า ทักษิณานุประทานก่อนแล้วจึงบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเกิด
๓. ทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ หรือมีพระธรรมเทศนาด้วย
๔. ถวายสังฆทาน
๕. ทำทานช่วยชีวิตสัตว์ เช่นปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ หรือส่งเงินไปบำรุงโรงพยาบาลหรือกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์อื่นๆ
๖. รักษาศีลหรือบำเพ็ญภาวนา
๗. กราบขอรับพรจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ
๘. บำเพ็ญคุณประโยชน์อื่นๆ โดยมุ่งที่การให้ มากกว่า เป็นการรับ
อานิสงส์หรือผลดีของการทำบุญวันเกิด
การทำบุญวันเกิด คือการปรารภวันเกิดและทำความดีในวันนั้นเป็นเหตุให้ได้รับผลดีหรืออานิสงส์ตอบแทน ดังมีพุทธภาษิตความว่า
“ผู้ให้อาหาร ชื่อว่า ให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยาน ชื่อว่า ให้ความสุข ผู้ให้ประทีป ชื่อว่า ให้ดวงตา” (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๑๓๘ หน้า ๔๔ ) และพระพุทธภาษิต ความว่า
“ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ ย่อมได้สิ่งที่น่าพอใจ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศ ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐสุด ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐสุด “ (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๔๔ หน้า ๖๖)
ข้อเสนอแนะ
๑. กิจกรรมในการทำบุญวันเกิดควรเน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ เช่นทำจิตใจให้สงบแจ่มใสและ ทำบุญตามศรัทธา
๒. ควรเป็นกิจกรรมที่มุ่งบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่นการบริจาคทาน สมทบทุนเพื่อ สาธารณประโยชน์ ใช้แรงงานของตนเองเพื่อส่วนรวม
๓. ควรมุ่งเน้นให้เป็นการประหยัด จัดงานวันเกิดในวงครอบครัวไม่ควรจัดหรูหราฟุ่มเฟือย
๔. ควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องจัดแบบต่างประเทศ เช่นตัดเค้กวันเกิดจุดเทียน หรือเป่าเทียน ร้องเพลงภาษาต่างประเทศอวยพรวันเกิด ฯลฯ
๕. ในกรณีที่ผู้น้อยไปรดน้ำอวยพรวันเกิดผู้ใหญ่ นิยมอ้างคุณพระศรีรัตนตรัยก่อนแล้วจึงมีคำอวยพร ส่วน ของขวัญที่จะให้นั้น ควรทำด้วยน้ำพักน้ำแรงหรือของที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือตนเอง ถ้าเป็นดอกไม้ควรเป็น ดอกไม้ที่ปลูกในประเทศไทย กรณีที่ผู้ใหญ่อวยพรวันเกิดผู้น้อย ผุ้ใหญ่ควรกล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคลแก่ ผู้รับพร
ทำบุญอายุ
การทำบุญอายุ มักนิยมทำกัน เมื่ออายุ ๒๕ ปี ซึ่งเรียกว่าเบญจเพสแผลงมาจาก ปัญจวีสะ คำว่าเบญจเพส ก็แปลว่า ๒๕ นั่นเอง ถือกันว่าตอนนี้เป็นตอนสำคัญ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะย่างขึ้นสู่สภาวะผู้ใหญ่ ตั้งตนให้เป็นหลักเป็นฐาน ถ้าดีก็ดีกันในตอนนี้ ถ้าเอาดีไม่ได้ก็อาจจะเสียคน ด้วยเหตุนี้จึงมีการทำบุญเมื่ออายุ ๒๕ ปีเพื่อส่งให้เจริญงอกงามต่อไป ต่อจากนั้นก็ทำเมื่ออายุ ๕๐ หรือ ๖๐ ปีอีกครั้งหนึ่ง เพราะถือกันว่าตอนนิอายุย่างเข้ากึ่งหนึ่งของศตวรรษแล้ว และเจริญมากถึงที่สุดแล้ว ต่อไปร่างกายก็มีแต่จะทรุดโทรมลงทุกวัน การทำบุญที่อายุปูนนี้จึงเป็นการทำโดยไม่ประมาท ร่างกายเสื่อมลงไปๆ จึงควรทำบุญไว้ เพื่อเป็นประกันในเมื่อจวนจะหมดลมจะได้นึกว่าทำดีไว้มากแล้ว ถึงตายก็ตายอย่างสงบ อนึ่งการทำบุญอายุนี้ บางทีทำกันเมื่อมีอายุครบ ๒ รอบ ๓ รอบ ๔ รอบ ไปจนถึง ๕ -๖ รอบฯลฯ รอบหนึ่งมี ๑๒ ปีถ้าบรรจบปีเกิดในรอบไหนก็ทำในรอบนั้นวิธีปฏิบัติ อานิสงส์ผลดีหรือข้อเสนอแนะ เช่นเดียวกับการทำบุญวันเกิด

ทำบุญวันเกิด


ทำบุญวันเกิดด้วย การตักบาตร



การตักบาตร ทำบุญวันเกิด


การตักบาตร เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้น ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอสรุปได้ดังนี้


๑. เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้

๒. เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ ทำบุญวันเกิด ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญ เกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย

๓. เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคตถ

๔. เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต ล้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต

๕. เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย แล้วนำมาสั่งสอนให้ประชาชนไดรับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติ ิดีงามของสังคม


ฉะนั้น ชาวพุทธควร ทำบุญวันเกิด ทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเองที่จะต้องนำไป ดุจเสบียงเดินทาง ในการท่องเที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร อันไม่ปรากฏเบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็น ผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัดถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าวสอนมวลมนุษย์ได้ การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้


๑. ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ ๑.๑ ทำบุญวันเกิด ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง ๑.๒ ทำบุญวันเกิด ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ ๑.๓ ทำบุญวันเกิด หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้วการทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเรา เศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้


๒. ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง ๓. สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสม แก่พระภิกษุสามเณรด้วย ทำบุญตักบาตรให้หมั่นอธิษฐาน
เมื่อองค์ประกอบ


๓ อย่างข้างต้นบริบูรณ์ สิ่งที่จะต้องทำก่อน ทำบุญวันเกิด ตักบาตร คือ “การอธิษฐาน” การอธิษฐานนี้นับว่า เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้บุญของเราหนักแนน่ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขี้น และยังทำให้เราทราบเป้าหมาย ในการทำบุญด้วย นอกจากนี้ การอธิษฐานยังสามารภสร้างพลังขึ้นในจิตใจให้มากขึ้น เป็นการสั่งสมกำลังแห่งความบากบั่น อดทน เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ปรารถนาได้ การอธิษฐานในขณะที่บำเพ็ญบุญนั้น ผลบุญย่อมหนุนส่งให้สำเร็จตามที่ปรารถนาไว้ ถึงแม้จะขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสบ้างก็ตาม แต่ความดีที่ทำไว้ย่อมไม่เสียหายไปแน่นอน ฉะนั้น ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอ หน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรมเป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออกเสียงเบา ๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรีให้วางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว คำอธิษฐานก่อนตักบาตร


ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป็นหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ เหนือทุกข์ทุกอย่าง (พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวีตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งพระโบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็นสากลนิยมไว้ว่า


อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ


อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฯ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ ฯ
***********************************